แผนคลังสินค้า

ผู้รับผิดชอบ 


นายชานนท์  อิ่มสบาย  รหัส 2571031441315


ระบบงานคลังสินค้า

ผู้จัดการฝ่ายคลัง
-          สามารถเรียกดูข้อมูลออเดอร์จากระบบการขายได้ แต่ไม่สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขได้
-          สามารถเรียกดูข้อมูลการเพิ่ม ลบ แก้ไข สินค้าย้อนหลังได้
-          สามารถเรียกดูข้อมูลการเบิกสินค้าย้อนหลังได้
-          สามราถเรียกดูข้อมูลสินค้าคงเหลือได้
-          -สามารถเรียกดูข้อมูลการเพิ่มสินค้าย้อนหลังได้
พนักงานคลัง
-          สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้าในคลังได้
-          สามารถเรียกดุข้อมูลสินค้าคงเหลือได้
-          สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้าได้
-          สามารถทำใบเบิกสินค้าได้


เป้าหมาย
                นำระบบสาระสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบการคลังบริษัทเพื่อลดภาระของฝ่ายการคลัง
วัตถุประสงค์
โครงการการพัฒนาระบบการคลังมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาให้เป็นระบบการคลังที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบการการพัฒนาระบบการคลังของบริษัทได้มีการจัดทำขึ้นโดยใช้ทีมงามเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการพร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
·  ระบบจะต้องรองรับการทางานแบบ Multi-User ได้
·  ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
·  ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
·  ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยามากที่สุด
ความต้องการในระบบใหม่ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้คือ
·  ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
·  สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายการสินค้าและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้
·  สามารถเพิ่มแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
·  สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
·  การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่นฝ่ายจัดส่ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
·  บริษัทสามารถตรวจสอบแก้ไขรายการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลสินค้าได้
·  บริษัทสามารถทราบยอดการเบิกสินค้าออกจากคลังได้
·  บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นงานของระบบการคลังในบริษัทที่มีความรวดเร็ว
·  การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
·  ลดระยะเวลาในการทำงาน


แนวทางในการพัฒนา
การพัฒนาระบบของบริษัท ธาราทิพย์ จำกัดเป็นการพัฒนาระบบในส่วนของแผนกการคลังในส่วนของการทำงานเกี่ยวกับการคลังต่างๆ เช่น เช็คสินค้าในคลังเพื่อลดภาระของฝ่ายการคลังตามความต้องการในระบบใหม่ที่ทีมงานได้รวบรวมจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวและผ่านการอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้วจากนั้น จึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ
1.  การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2.  การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3.  การวิเคราะห์ระบบ
4.  การออกแบบเชิงตรรกะ
5.  การออกแบบเชิงกายภาพ
6.  การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7.  การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนที่ 1  การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัทเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร ดังนั้น จึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบ คือ บริษัท ธาราทิพย์ จำกัด ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
      ·  ระบบการคลัง
ขั้นตอนที่ 2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงานซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
·  เริ่มต้นทำโครงการก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
·  กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
·  วางแผนการทำงานของระบบใหม่
ขั้นตอนที่ 3  การวิเคราะห์
1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิมดูว่าการทางานของระบบการคลังมีการนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมและระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการตรวจสอบสินค้า
2. การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้วก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 4  การออกแบบเชิงตรรกะ
เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงานซึ่งในการออกแบบระบบระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกันซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนที่ 5  การออกแบบเชิงกายภาพ
ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่างๆที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบการรายงานข้อมูลสินค้าย้อนหลังฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้นซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 6  การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
·  เขียนโปรแกรม
·  ทดสอบโปรแกรม
·  ติดตั้งระบบ
·  จัดทำเอกสารสรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 7  การซ่อมบำรุงระบบ

อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้วเราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด
แผนการดำเนินงานของโครงการ


แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องพัฒนาระบบการคลังมีส่วนที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
ประมาณการใช้ทรัพยากร
ประมาณการใช้งบประมาณ
ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
ทีมงานรับผิดชอบโครงการ

ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมายคือบุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 คนจะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดังต่อไปนี้
-นักวิเคราะห์และออกแบบระบบทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์จัดทำเอกสารของระบบทดสอบโปรแกรมของระบบและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
-โปรแกรมเมอร์ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบรวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร

1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวนเครื่อง
3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 2 เครื่อง
4. อุปกรณ์ต่อพวง 7 ชุด (ตามความเหมาะสม
ประมาณการใช้งบประมาณ

1. ค่าตอบแทนสำหรับทีมพัฒนาระบบ                          100,000           บาท
2. ค่าอุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน                             80,000            บาท
3. ค่าบำรุงรักษาระบบ                                              50,000            บาท
รวม                                                                   230,000          บาท

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
              ระยะเวลาดำเนินการจัดทำระบบรายรับ-รายจ่ายประมาณการว่าจะต้องใช้ระยะเวลา 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม –ธันวาคม 2557 ซึ่งระยะเวลาที่ประมาณการนี้รวมเพื่อเวลาที่ต้องสูญเสียไปกรณีมีเหตุไม่คาดคิดล



ตัวอย่าง sap Material Management (MM)









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น